ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

พันตรี ควง อภัยวงศ์

พันตรี ควง อภัยวงศ์ (17 พฤษภาคม 2445 – 15 มีนาคม 2511) อดีตนายกรัฐมนตรีไทย 4 สมัย ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนแรก

ควง อภัยวงศ์เป็นสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือนซึ่งร่วมการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 เคยมีบรรดาศักดิ์เป็น หลวงโกวิทอภัยวงศ์

พ.ต.ควง ถือเป็นผู้บุกเบิกก่อตั้งกระทรวงคมนาคมยุคใหม่ เนื่องจากดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการคนแรก ด้วยประสบการณ์ที่เคยรับราชการจนมีตำแหน่ง เป็นถึงอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข[ต้องการอ้างอิง] นอกจากนี้ยังเคย ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์, กระทรวงการคลัง, กระทรวงเกษตราธิการ และกระทรวงมหาดไทยด้วย

ควง อภัยวงศ์เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2445 ณ จังหวัดพระตะบอง ซึ่งขณะนั้นอยู่ในมณฑลบูรพา ราชอาณาจักรสยาม (ปัจจุบันอยู่ในประเทศกัมพูชา) เป็นบุตรของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) ผู้สำเร็จราชการจังหวัดพระตะบอง กับนางรอด เขาสมรสกับคุณหญิงเลขา อภัยวงศ์ และเป็นพระปิตุลา (อา) ในพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในรัชกาลที่ 6 และพระประยูรญาติของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี

เคยรับราชการเป็นนายช่างผู้ช่วยโท แผนกกองช่างโทรเลข กรมไปรษณีย์โทรเลข จนได้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข

และได้รับพระราชทานยศพันตรีปฏิบัติหน้าที่ราชองครักษ์พิเศษ เมื่อคราวร่วมสงครามอินโดจีนในปี 2484 และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงโกวิทอภัยวงศ์ แต่ต่อมาลาออกจาก บรรดาศักดิ์ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2484

ซึ่งในสงครามครั้งนี้ ได้ทำหน้าที่เป็นนายทหารช่างผู้คุมงานก่อสร้างถนนไปเชียงตุง และต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานการรับมอบดินแดนมณฑลบูรพาจากอินโดจีนฝรั่งเศสด้วย[ต้องการอ้างอิง]

จากนามสกุล คือ "อภัยวงศ์" เป็นสกุลที่สืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์และเจ้าพระยาคฑาธรธรนินทร์ ซึ่งเป็นผู้ปกครองดินแดนมณฑลบูรพา ซึ่งเป็นเขตแดนในประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 5

ควง อภัยวงศ์เป็นหนึ่งในสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือนที่ร่วมการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 เป็นนักเรียนไทยในฝรั่งเศสรุ่นเดียวกับ ปรีดี พนมยงค์ และจอมพล แปลก พิบูลสงคราม

ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ควงมิได้รับรู้แผนการเชิงลึกเหมือนแกนนำคนอื่น ๆ เพราะเป็นสมาชิกที่เข้าถูกชวนให้ร่วมในภายหลัง แม้ว่าเขาจะเป็นนักเรียนไทยในประเทศฝรั่งเศสรุ่นเดียวกัน และรู้จักสนิทสนมกับบรรดาสมาชิกคณะราษฎรยุคก่อตั้ง 7 คนอย่างมาก ทั้งปรีดี พนมยงค์ และจอมพล ป. พิบูลสงคราม รวมถึงทวี บุณยเกตุ แต่ถูกชวนให้เข้าร่วมคณะราษฎร เนื่องจากเป็นผู้รับราชการในกรมไปรษณีย์โทรเลข ซึ่งตามแผนต้องมีการตัดสัญญาณการสื่อสารเหล่านี้เป็นประการแรก ซึ่งในระหว่างการประชุมวางแผน ที่ประชุมกำหนดให้ควงเป็นผู้ดูต้นทางหรือลาดเลาให้ ในเช้าตรู่ของวันก่อการ พ.ต.ควงได้รับให้ไปปฏิบัติหน้าที่ตามที่ถนัด คือ การตัดสายโทรศัพท์และโทรเลขร่วมกับวิลาศ โอสถานนท์, ประยูร ภมรมนตรี และทหารเรืออีกจำนวนหนึ่ง ที่นำโดย หลวงนิเทศกลกิจ (กลาง โรจนเสนา) ควงกล่าวถึงเหตุการณ์ตอนนี้ว่า

เราถอนหายใจยาวพร้อมกัน 4 น. ครึ่งผ่านไปแล้ว ข้าพเจ้ายกมือขึ้นเป็นสัญญาณ อันเป็นฤกษ์งามยามดีของเรา แล้วสัญญาณแห่งการปฏิวัติก็อุบัติขึ้น สายโทรศัพท์ทางด้านนอกได้ถูกตัดลงแล้ว แล้วพวกเราก็กรูกันเข้าไปในที่ทำการชุมสายวัดเลียบ เพื่อตัดสายจากหม้อแบตเตอรี่ อันเป็นการตัดอย่างเด็ดขาดและสิ้นเชิง....

ทำการเสร็จแล้วไปถึงที่นัดหมายที่ลานพระบรมรูปทรงม้า แต่ไม่พบกับกลุ่มที่นัดหมาย จนนึกว่าทำการไม่สำเร็จ จึงกลับไปบ้าน แต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองก็สำเร็จจนได้

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ขณะยังมีบรรดาศักดิ์เป็น หลวงโกวิทอภัยวงศ์ ได้เดินทางไปประชุมสากลไปรษณีย์ ที่กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา พร้อมด้วยขุนชำนาญ (หลุย อินทุโสภณ) เลขานุการ และเมื่อกลับจากประเทศอาร์เจนตินา ได้ไปดูงานโทรศัพท์อัตโนมัติที่ประเทศอังกฤษ และมีโอกาสเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เครนไลน์ โดยพระเจ้าอยู่หัวทรงเลี้ยงอาหารค่ำ และได้ตรัสเรื่องต่าง ๆ ให้ควงได้รับรู้ และนับแต่นั้น ความคิดความเห็นของเขาก็เปลี่ยนไปเป็นอันมาก มักบ่นกับคนที่ชอบพอ และญาติใกล้ชิดว่า "เรามันผิดไปเสียแล้ว ควรที่จะถวายพระราชอำนาจคืน" ซึ่งข้อความนี้หนังสือพิมพ์บางฉบับได้นำไปโจมตีว่า ควงมีหัวนิยมเจ้า และบางฉบับกล่าวหาว่า ควงมีหัวโน้มเอียงไปทางคอมมิวนิสต์

ก่อนหน้าการดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ควง อภัยวงศ์เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา และ จอมพล ป. พิบูลสงคราม

พันตรี ควง อภัยวงศ์ เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนาสองสมัย คือ วันที่ 22 กันยายน 2477 – 9 สิงหาคม 2480 และ 21 ธันวาคม 2480 – 16 ธันวาคม 2481

หลังจากนั้นพันตรีควงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงธรรมการ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2481 และไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมคนแรก เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2484 ในรัฐบาล พันเอก หลวงพิบูลสงครามระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม 2481 – 7 มีนาคม 2485 และตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2485 จนย้ายไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2485 ในรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม (7 มีนาคม 2485 – 1 สิงหาคม 2487) ต่อมาพันตรีควง ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2486

พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 พร้อมกับการจัดตั้ง คณะรัฐมนตรีคณะที่ 11 ของไทย ภายหลัง จอมพล ป. พิบูลสงคราม ลาออกจากตำแหน่ง การขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ เป็นไปโดยสถานการณ์บังคับ จากการได้รับเลือกโดยสภาฯ ในขณะที่ไม่มีผู้อื่นยินดีรับตำแหน่ง เนื่องจากเกรงจะถูกรัฐประหารโดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในครั้งนั้นได้ปรึกษากับอธิบดีกรมตำรวจ และตัดสินใจเดินทางไปอธิบายกับ จอมพล ป. ถึงค่ายทหารที่จังหวัดลพบุรีจนเป็นที่เข้าใจและยอมรับของจอมพล ป. ที่จะสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ พร้อมกับการรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ ยังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ กระทรวงคมนาคม อีกด้วย

รัฐบาลของ พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ได้ประกาศสันติภาพกับฝ่ายสัมพันธมิตร ในวันที่ 16 สิงหาคม 2488 หลังจาก ประเทศญี่ปุ่น ประกาศยอมแพ้สงครามแล้ว 2 วัน โดยมี นายปรีดี พนมยงค์ ลงนามในฐานะ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ระบุให้ การประกาศสงครามต่อ สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ ของจอมพล ป. เป็นโมฆะ พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ในวันรุ่งขึ้น ด้วยเหตุผล เพื่อให้เป็นไปตามประเพณีนิยมแห่งวิถีการเมือง และเปิดโอกาสให้ผู้มีความเหมาะสม ในอันที่จะยังมิตรภาพ และดำเนินการเจรจา ทำความเข้าใจอันดีกับฝ่ายพันธมิตร ได้เข้าบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อความวัฒนาถาวรของชาติสืบไป

หลังการลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีซึ่งมี นายทวี บุณยเกตุ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีประมาณ 17 วัน และผู้มารับช่วงต่อคือ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช อัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน หัวหน้าเสรีไทย สายสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้เดินทางกลับมารับช่วงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2488 และดำเนินการเจรจา กับประเทศอังกฤษ ในขณะที่ นายปรีดี พนมยงค์ ประสานขอความสนับสนุน จากประเทศจีน ให้ช่วยรับรอง จนประเทศไทย สามารถพ้นจากสถานะ ประเทศผู้แพ้สงครามในที่สุด

ในระหว่างที่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ได้รับมอบหมายจาก ม.ร.ว.เสนีย์ ให้เป็นผู้ดำเนินการจัดส่งข้าวให้อังกฤษ ซึ่งได้ทำหน้าที่ได้เป็นอย่างดี ไม่มีการคอร์รัปชั่น จนทางอังกฤษเอ่ยชมเชย

หลังจากเจรจากับอังกฤษจนสำเร็จ และประเทศไทยพ้นสถานะประเทศผู้แพ้สงครามแล้ว ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้ยุบสภาเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2488 เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ เพราะสมาชิกสภาชุดที่ถูกยุบนั้นได้รับเลือกตั้งมา ตั้งแต่ วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 แต่เมื่อหมดวาระ 4 ปียังไม่ได้เลือกตั้งใหม่ เพราะติดช่วงสงครามโลก

วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2488 รัฐบาลไทยได้ประกาศยกเลิกคำว่า "ประเทศไทย" (ไทยแลนด์) ให้ใช้คำว่า "สยาม" เหมือนเดิม โดยใช้ "ไทย" เป็นชื่อเชื้อชาติ ส่วนคำว่า"สยาม" เป็นชื่อประเทศ นายควง อภัยวงศ์ซึ่งได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 ในปลายเดือนมกราคม พ.ศ. 2489 ได้ออกนโยบายฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีไทยในด้านๆต่างๆดังนี้

การเลือกตั้งมีขึ้นวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2489 พ.ต.ควงได้รับความเห็นชอบจากสภาฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พร้อมกับการจัดตั้ง คณะรัฐมนตรีคณะที่ 14 ของไทย มี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แต่หลังจากตั้งรัฐบาลได้เพียง 2 เดือน สภาฯ ได้ผ่านร่างพระราชบัญญัติ คุ้มครองค่าใช้จ่ายของประชาชนในภาวะคับขัน (พ.ร.บ.ปักป้ายราคาสินค้าอุปโภคบริโภค หรือ "พ.ร.บ.ปักป้ายข้าวเหนียว") ที่เสนอโดย นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ส.ส.อุบลราชธานี (ผู้ใกล้ชิด นายปรีดี พนมยงค์ ในฐานะ หัวหน้าขบวนการเสรีไทย เขตอุบลราชธานี) ซึ่งเป็นกฎหมายที่รัฐบาล พ.ต.ควง ไม่เห็นด้วยในหลักการ เนื่องจากไม่มีมาตรการ ในการควบคุมราคา คณะรัฐมนตรีได้แถลงให้สภาทราบแล้วว่า คณะรัฐมนตรีไม่สามารถปฏิบัติตาม ร่างพระราชบัญญัตินั้นได้ และเกรงจะเป็นการเดือดร้อน แก่ประชาชนทั่วไป แต่สภาฯได้ลงมติรับหลักการ ด้วยคะแนน 65 ต่อ 63 เสียง รัฐมนตรีทั้งคณะจึงได้กราบถวายบังคม ลาออกจากตำแหน่ง ในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2489 โดยมีนายปรีดี พนมยงค์ ได้รับการสนับสนุนจากสภา ให้ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี และต่อมาได้ควบตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย

การประกาศสันติภาพ เมื่อเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อจาก จอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ก่อนหน้านั้นมีความจำเป็นต้องประกาศสงคราม กับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ครั้นเมื่อดำรงตำแหน่งก็ได้ประกาศให้การประกาศสงครามดังกล่าวเป็นโมฆะ ไม่ผูกพันประชาชนชาวไทย ทำให้สัมพันธภาพของประเทศไทย กับกลุ่มประเทศสัมพันธมิตรดีขึ้น และในที่สุดส่งผลให้ประเทศไทยพ้นจากสภาพประเทศผู้แพ้สงคราม

หลังจากพ้นวาระในสมัยนี้แล้ว พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ได้ร่วมกับ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช และ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช รวมทั้งนักการเมืองกลุ่มหนึ่ง เช่น นายใหญ่ ศวิตชาต, นายเลียง ไชยกาล, ดร.โชติ คุ้มพันธ์, พระยาศราภัยพิพัฒ, นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ และ นายฟอง สิทธิธรรม ก่อตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ ขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2489 โดย พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าพรรคคนแรก มี ม.ร.ว.เสนีย์ เป็นรองหัวหน้าพรรค ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ เป็นเลขาธิการพรรค และมี นายชวลิต อภัยวงศ์ ผู้มีศักดิ์เป็นน้องชาย เป็น รองเลขาธิการพรรค มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพรรคฝ่ายค้านคานอำนาจรัฐบาลของนายปรีดี ที่ขณะนั้นมีอำนาจอย่างสูง ที่เข้ามาแทนที่รัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม

พ.ต.ควง อภัยวงศ์ รับดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 3 พร้อมทั้งรับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ หลังการรัฐประหาร เพื่อจัดการเลือกตั้ง วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2491 นับเป็น คณะรัฐมนตรีคณะที่ 19 มี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็น รัฐมนตรี หลังจัดการเลือกตั้งแล้วจึงพ้นวาระไป

พ.ต.ควง อภัยวงศ์ กลับเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อเป็นสมัยที่ 4 เนื่องจากผลการเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ ได้เสียงข้างมาก พ.ต.ควง ในฐานะหัวหน้าพรรค จึงได้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อเนื่องอีกสมัย พร้อมทั้งดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นับเป็น คณะรัฐมนตรีคณะที่ 20 มี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และ นายชวลิต อภัยวงศ์ เป็น รัฐมนตรี แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2491 กลุ่มนายทหารชุดเดียวกับคณะรัฐประหาร พ.ศ. 2490 ก็บีบบังคับให้ลาออก และ สภาฯ มีมติให้ท่าน พ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2491 เรียกการปฏิวัติครั้งนี้ว่า "ปฏิวัติเงียบ" หลังการรัฐประหาร จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้กลับเข้า ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี อีกครั้งหนึ่ง

หลังจากนั้น พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ยังคงอยู่ในแวดวงการเมือง ด้วยการนำพรรคประชาธิปัตย์ ทำหน้าที่ฝ่ายค้านในสภาฯ อย่างแข็งขัน ในรัฐบาลหลายชุด ทั้ง รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม สมัยสุดท้าย, รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และ รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร

จนกระทั่งเมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ซึ่งได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ขณะนั้น และใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 แทน ซึ่งมีบทบัญญัติให้ยกเลิกสถาบันทางการเมืองต่าง ๆ เช่น พรรคการเมือง เป็นต้น ทำให้บทบาททางการเมืองของ พ.ต.ควงต้องยุติไปโดยปริยาย ซึ่งเขาได้รอคอยการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้เสร็จสิ้น และตั้งความหวังไว้ว่าจะลงเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง แต่ได้อสัญกรรมลงเสียก่อน

พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคระบบทางเดินหายใจขัดข้อง เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2511 ขณะอายุได้ 65 ปี โดยดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต

หลังการถึงแก่อสัญกรรม พรรคประชาธิปัตย์ได้ก่อตั้ง มูลนิธิควง อภัยวงศ์ ขึ้น ตามเจตนารมณ์ และให้ชื่ออาคารที่ทำการของพรรคหลังแรกว่า "อาคารควง อภัยวงศ์" เพื่อรำลึกถึงด้วย

พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองที่มีไหวพริบปฏิญาณในการพูด การปราศรัยดีเยี่ยม อีกทั้งยังมีมุขตลกสนุกสนานเป็นที่รู้จักกันอย่างดี จนได้ฉายามากมาย เช่น "นายกฯ ผู้ร่ำรวยอารมณ์ขัน" หรือ "จอมตลก" หรือ "ตลกหลวง"

ควง อภัยวงศ์ • หลวงเสรีเริงฤทธิ์ (จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์) • สพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา • หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ • ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ • พระยาประกิตกลศาสตร์ (รุณชิต กาญจนะวณิชย์) • มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ • หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ • พระยาศรีพิชัยสงคราม (เจริญ จันฉาย) • พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) • ปฐม โพธิ์แก้ว • สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ • ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี • บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา • พงษ์ ปุณณกันต์ • ทวี จุลละทรัพย์ • ชลี สินธุโสภณ • เชาวน์ ณศีลวันต์ • สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ • ศิริ สิริโยธิน • ทวิช กลิ่นประทุม • เลอศักดิ์ สมบัติศิริ • สุรกิจ มัยลาภ • สมพร บุณยคุปต์ • อมร ศิริกายะ • สมัคร สุนทรเวช • บรรหาร ศิลปอาชา • มนตรี พงษ์พานิช • นุกูล ประจวบเหมาะ • วินัย สมพงษ์ • วิชิต สุรพงษ์ชัย • วันมูหะมัดนอร์ มะทา • สุวัจน์ ลิปตพัลลภ • สุเทพ เทือกสุบรรณ • สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ • พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล • ธีระ ห้าวเจริญ • สันติ พร้อมพัฒน์ • โสภณ ซารัมย์ • สุกำพล สุวรรณทัต • จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ • ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ • ประจิน จั่นตอง • อาคม เติมพิทยาไพสิฐ

(รัฐมนตรีช่วย) วิลาศ โอสถานนท์ • หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) • สพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา • หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ • ชม จารุรัตน์ • สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ • ปฐม โพธิ์แก้ว • ประเสริฐ สุดบรรทัด • หลวงชำนาญอรรถยุทธ์ (เอื้อน กุลไกรเวส) • ประมาณ อดิเรกสาร • ไสว ไสวแสนยากร • เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร • พงษ์ ปุณณกันต์ • จรูญ เฉลิมเตียรณ • เนตร เขมะโยธิน • ชลี สินธุโสภณ • อุทัย วุฒิกุล • ประจวบ สุนทรางกูร • ศรีภูมิ ศุขเนตร • อุทัย พิมพ์ใจชน • สมศาสตร์ รัตนสัค • บุญยง วัฒนพงศ์ • อนันต์ ภักดิ์ประไพ • ประทวน รมยานนท์ • บุญเกิด หิรัญคำ • ประชุม รัตนเพียร • สนอง นิสาลักษณ์ • ประสงค์ สุขุม • ประสิทธิ์ ณรงค์เดช • ประสงค์ คุณะดิลก • อมร ศิริกายะ • เทพ กรานเลิศ • พล เริงประเสริฐวิทย์ • ทินกร พันธุ์กระวี • ยศ อินทรโกมาลย์สุต • ชาญ มนูธรรม • ชุมพล ศิลปอาชา • วีระ มุสิกพงศ์ • มนตรี พงษ์พานิช • บุญเทียม เขมาภิรัตน์ • สนั่น ขจรประศาสน์ • สุรพันธ์ ชินวัตร • นิคม แสนเจริญ • เอนก ทับสุวรรณ • สุวัจน์ ลิปตพัลลภ • เจริญ เชาวน์ประยูร • หม่อมหลวงเชิงชาญ กำภู • วิโรจน์ แสงสนิท • สุเทพ เทพรักษ์ • เสนาะ เทียนทอง • กำชัย เรืองกาญจนเศรษฐ์ • จรัส พั้วช่วย • ไสว พัฒโน • ทวี ไกรคุปต์ • สมศักดิ์ เทพสุทิน • พินิจ จารุสมบัติ • สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ • เดช บุญ-หลง • สมบัติ อุทัยสาง • พีระพงศ์ ถนอมพงษ์พันธุ์ • ชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ • พิมพา จันทร์ประสงค์ • ดิเรก เจริญผล • อร่าม โล่ห์วีระ • สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ • ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ • สนธยา คุณปลื้ม • เผดิมชัย สะสมทรัพย์ • โชคสมาน สีลาวงษ์ • อิทธิ ศิริลัทธยากร • ไชยา สะสมทรัพย์ • จองชัย เที่ยงธรรม • ประชา มาลีนนท์ • พงศกร เลาหวิเชียร • นิกร จำนง • พิเชษฐ สถิรชวาล • วิเชษฐ์ เกษมทองศรี • อดิศร เพียงเกษ • ภูมิธรรม เวชยชัย • ชัยนันท์ เจริญศิริ • สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม • ทรงศักดิ์ ทองศรี • อนุรักษ์ จุรีมาศ • โสภณ ซารัมย์ • วราวุธ ศิลปอาชา • ประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ • เกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร • สุชาติ โชคชัยวัฒนากร • ชัจจ์ กุลดิลก • กิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ • ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ • พฤณท์ สุวรรณทัต • ประเสริฐ จันทรรวงทอง • พ้อง ชีวานันท์ • อาคม เติมพิทยาไพสิฐ • ออมสิน ชีวะพฤกษ์ • พิชิต อัคราทิตย์


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406